วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ^^

1.สิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไร ?
   สิ่งแวดล้อม หมยถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ จากคำจำกัดความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่ คำว่า "ตัวเรา" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวมนุษย์เราเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ตัวเรานั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ต้องการศึกษา/รู้ เช่น ตัวเราอาจจะเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน หรืออาจจะเป็นน้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีข้อสงสัยว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีรัศมีจำกัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสิ่งต่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ได้มีขอบเขตจำกัด มันอาจอยู่ใกล้หรือไกลตัวเราก็ได้ จะมีบทบาทหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเราอย่างไรนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น โศกนาฏกรรมตึกเวิร์ดเทรด ซึ่งตัวมันอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แต่มีผลถึงประเทศไทยได้ในเรื่องของเศรษกิจ เป็นต้น
ทีมาของข้อมูล :   www.4090917.ob.tc/environment.htm 


2.องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม ?
             สิ่งแวดล้อม  มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ 3  ประการดังนี้ 
                  1.   ลักษณะภูมิประเทศ
                  2.   ลักษณะภูมิอากาศ
                  3.  ทรัพยากรธรรมชาติ
ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ
            1.  พลังงานภายในเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกผันแปร  บีบอัดให้ยกตัวสูงขึ้น  กลายเป็นภูเขาที่ราบสูง  หรือทรุดต่ำลง  เช่น เหว  แอ่งที่ราบ
             2.  ตัวกระทำทางธรรมชาติภายนอกเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกเกิดการสึกกร่อนพังทลายหรือทับถม  ได้แก่  ลม  กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง
             3.   การกระทำของมนุษย์  เช่น  การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน   การตัดถนนเข้าไปในป่า  ทำให้ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆเปลี่ยนไปจากเดิม
ความสำคัญของลักษณะภูมิประเทศ
          1.  ความสำคัญต่อมนุษย์  ลักษณะภูมิประเทศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน  การประกอบอาชีพของมนุษย์  เช่น  ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
            2.  ความสำคัญต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น  ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง  ย่อมมีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของท้องถิ่น  เช่น  ทำให้เกิดเขตเงาฝน
           3.   ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  เขตเทือกเขาสูง  ย่อมอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ  ป่าไม้และสัตว์ป่า
ประเภทของลักษณะภูมิประเทศ
          ลักษณะภูมิประเทศจำแนกได้ 2 ประเภท  ดังนี้
                 1.  ลักษณะภูมิประเทศอย่างใหญ่  เห็นได้ชัดและเกิดในอาณาบริเวณที่กว้างขวาง  เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวภายในของเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกยกตัวขึ้นสูงหรือทรุดต่ำลง  โดยคงลักษณะเดิมไว้นานๆ  เช่น  ที่ราบ  ที่ราบสูง  เนินเขา  และภูเขา
                2.   ลักษณะภูมิประเทศอย่างย่อย  มีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก  อาจเปลี่ยนแปลงรูปได้  มักเกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง  กระแสลม คลื่น  เช่น  แม่น้ำ ทะเลสาบ  อ่าว  แหลม  น้ำตก
ประเภทของที่ราบ แบ่งตามลักษณะของการเกิด
           1.  ที่ราบดินตะกอน  พบตามสองฝั่งของแม่น้ำ  เกิดจาการทับถมของดินตะกอนที่น้ำพัดพา
           2.  ที่ราบน้ำท่วมถึง  เป็นที่ราบลุ่มในบริเวณแม่น้ำ  มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน  เกิดจากการทับถมของดินตะกอนหรือวัสดุน้ำพา
           3.  ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำบริเวณปากแม่น้ำ  เกิดจากการทับถมของโคลนตะกอนวัสดุน้ำพาจนกลายเป็นที่ราบรูปพัด
           4.  ลานตะพักลำน้ำ  คือ  ที่ราบลุ่มแม่น้ำอีกประเภทหนึ่ง  แต่อยู่ห่างจากสองฝั่งแม่น้ำออกไป  น้ำท่วมไม่ถึง  ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์  บางที่เรียกว่า  ที่ราบขั้นบันได
ความสำคัญของภูมิอากาศ
          1.  ความสำคัญที่มีต่อลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศทำให้ท้องถิ่นมีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
             2.  ความสำคัญที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  ภูมิอากาศร้อนชื้น  ฝนชุก  จะมีทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าบางชนิดชุกชุม
             3.  ความสำคัญที่มีต่อมนุษย์  ภูมิอากาศย่อมมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่  การแต่งกาย  บ้านเรือน
ปัจจัยที่มำให้ภูมิอากาศของท้องถิ่นต่างๆมีความแตกต่างกัน
              1.  ที่ตั้ง  คือ  ละติจูดของพื้นที่
              2.  ลักษณะภูมิประเทศ  คือ  ความสูงของพื้นที่
              3.  ทิศทางลมประจำ  เช่น  ลมประจำปี
              4.   หย่อมความกดอากาศ
              5.   กระแสน้ำในมหาสมุทร
ที่ตั้ง  หรือ ละติจูดของพื้นที่
           ละติจูดของพื้นที่มีผลต่อปริมาณความร้อนที่ได้รับจากแสงอาทิตย์  ดังนี้
                  1.  เขตละติจูดต่ำ  ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปี  จึงมีอากาศร้อน
                     2.  เขตละติจูดสูง  ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์  ความร้อนที่ได้รับมีน้อย  จึงเป็นเขตอากาศหนาวเย็น
                    3.  เขตละติจูดปานกลาง  ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากน้อยตามฤดูกาล  จึงมีอากาศอบอุ่น
ความอยู่ใกล้  หรือไกลทะเล
             มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น  ดังนี้
                   1.พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล  จะได้รับอิทธิพลจากพื้นน้ำ  ทำให้ฝนตกมากและอากาศเย็น
                   2.พื้นที่ที่อยู่ไกลทะเล   เช่น  อยู่กลางทวีป  อากาศจะแห้งแล้ง
ความสูงของพื้นที่  มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น
          พื้นที่ยิ่งสูงอากาศยิ่งหนาวเย็น  เนื่องจากความร้อนที่ผิวพื้นโลกได้รับจากดวงอาทิตย์จะแผ่สะท้อนกลับสู่บรรยากาศ  ดังนั้นบริเวณที่อยู่ใกล้พื้นผิวโลกจึงมีความร้อนมาก
การขวางกั้นของเทือกเขาสูง
            มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น    ถ้าเทือกเขาสูง  วางตัวกั้นทิศทางของลมประจำ  เช่น  ลมมรสุมฤดูฝน  จะเป็นผลให้ด้านหน้าของเทือกเขาได้รับความชุ่มชื้น  มีฝนตกชุก ส่วนด้านหลังของเทือกเขาเป็นเขตอับลมฝนแห้งแล้ง ที่เรียกกันว่า  เขตเงาฝน
การจำแนกเขตภูมิอากาศโลกตามวิธีการของเคิปเปน
            เคิปเปน  นักภูมิอากาศวิทยาชาวออสเตรีย  ได้กำหนดประเภทภูมิอากาศของโลกออกเป็น 6 ประเภท  โดยกำหนดสัญลักษณ์เป็นภาษาอังกฤษ  ดังนี้
                1.  แบบร้อนชื้น (a)  มีอุณหภูมิสูงตลอดทั้งปี  ฝนตกชุก  พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ
               2.  แบบแห้งแล้ง (b)  มีอุณหภูมิสูง  แห้งแล้ง มีฝนตกน้อยมาก  พืชพรรณเป็นพืชทะเลทราย
               3.  แบบอบอุ่น  หรือชื้น อุณหภูมิปานกลาง (c)  อากาศอบอุ่น  อุณหภูมิปานกลาง  พืชพรรณเป็นป่าไม้ผลัดใบเขตอบอุ่น
               4.  แบบหนาวเย็น  อุณหภูมิต่ำ  (d) อากาศหนาวเย็น  อุณหภูมิต่ำ  พืชพรรณเป็นป่าผลัดใบเขตอบอุ่น  ป่าเขตหนาว  และทุ่งหญ้าแพรี
               5.  แบบขั้วโลก (e)  อากาศหนาวเย็นมากที่สุด อุณหภูมิต่ำมาก  พืชพรรณเป็นหญ้ามอส  และตะไคร่น้ำ
             6. แบบภูเขาสูง  (h) เป็นลักษณะภูมิอากาศแบบพิเศษ  พบในเขตภูเขาสูง  มีภูมิอากาศหลายแบบทั้ง a, c, d  อยู่ร่วมกันตามระดับความสูงของภูเขา  ยิ่งสูงอากาศยิ่งหนาว  พืชพรรณธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูงของพื้นที่
หลักเกณฑ์การแบ่งเขตภูมิอากาศของเคิปเปน
           เคิปเปน  มีหลักเกณฑ์การพิจารณา 3 ประการ  ดังนี้
                  1.  อุณหภูมิของอากาศในท้องถิ่น
                 2.  ปริมาณฝนของท้องถิ่น
                 3.  ลักษณะพืชพรรณของท้องถิ่น
ทรัพยากรธรรมชาติ
           ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  มี 4 ประเภท  ดังนี้
                    1. ดิน                         2.  น้ำ                        3. แร่ธาตุ                         4.  ป่าไม้
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
            1.  การเพิ่มของจำนวนประชากร  ทำให้การบริโภคทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็ว
             2.  การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  เช่น  เลื่อยไฟฟ้าตัดไม้ในป่า
             3.  การบริโภคฟุ่มเฟือย  ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  สนับสนุนให้ประชาชนมีวัฒนธรรมการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย  ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติสูญสิ้นอย่างรวดเร็ว
ปัจจัยที่ทำให้ดินในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน
             ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์   ประกอบด้วย  อนินทรีย์วัตถุ  มีร้อยละ  45 อินทรีย์วัตถุ  มีร้อยละ 5  น้ำร้อยละ 25  และอากาศร้อยละ  25  ปัจจัยที่ทำให้ดินในแต่ละท้องถิ่นมีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน  คือ
                  1.  ลักษณะภูมิประเทศ  พื้นที่ลาดชันมาก  การสึกกร่อนพังทลายของดินมีมาก
            2.   ลักษณะภูมิอากาศ  ในเขตร้อนชื้น  ฝนตกชุก    การชะล้างของดินและการผุพังสลายตัวของแร่ธาตุ  ซากพืชซากสัตว์ในดินจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพเร็ว
                3.  สัตว์มีชีวิตในดิน  เช่น  ไส้เดือน  จุลินทรีย์ในดิน  จะช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์  ทำให้ดินได้รับฮิวมัสเพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยสำคัญที่ควบคุมความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำ
             1.  น้ำบนดิน  ได้แก่  แม่น้ำ  ลำคลอง  หนอง  บึง
             2.  น้ำใต้ดิน หมายถึง  น้ำบาดาล  ปริมาณน้ำใต้ดินจะมีมากน้อย ขึ้นกับ
                  -  ปริมาณฝนของพื้นที่นั้นๆ
                  -  ความสามารถในการเก็บกักน้ำของชั้นหินใต้พื้นดิน
ประเภทของแร่ธาตุ
           1.  แร่โลหะ  คือแร่ที่ประกอบด้วยธาตุโลหะ   มีความวาวให้สีผงเป็นสีแก่  ได้แก่  xxxีบุก  ทังสเตน  พลวง
           2.  แร่อโลหะ  คือแร่ที่ไม่มีความวาวแบบโลหะ  ให้สีผงเป็นสีอ่อน ได้แก่  ดินขาว หินปูน  หินอ่อน
           3.  แร่เชื้อเพลิง  คือแร่ที่มีสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน  ทำเป็นเชื้อเพลิง  ได้แก่  น้ำมันปิโตรเลียม  ก๊าซธรรมชาติ
           4.  แร่นิวเคลียร์    คือแร่ที่นำมาใช้ในกิจการพลังงานปรมาณู  เช่น  ยูเรเนียม
การจำแนกประเภทของป่าไม้
          1.  ป่าไม้ไม่ผลัดใบ  มีใบเขียวตลอดปี  พบในเขตฝนชุก  มี 4 ชนิด  ดังนี้
                 1.1  ป่าดงดิบ  มีลักษณะเป็นป่ารกทึบ
                 1.2  ป่าดิบเขา  มีลักษณะคล้ายป่าดงดิบ
                 1.3  ป่าสนเขา  เป็นไม้สน  ขึ้นในเขตภูเขาสูง
                 1.4  ป่าชายเลน  ขึ้นตามชายฝั่งทะเลที่มีหาดเลน  บางที่เรียกว่า  ป่าเลนน้ำเค็ม
           2.  ป่าไม้ผลัดใบเป็นป่าไม้ที่ผลัดใบในฤดูแล้ง  มี   2 ชนิด  ดังนี้
                2.1  ป่าเบญจพรรณ  เป็นป่าโปร่ง  ผลัดใบในฤดูแล้ง
                2.2  ป่าแดง  เป็นป่าโปร่ง  มีทุ่งหญ้าสลับทั่วไป
ที่มาของข้อมูล : http://www.dektriam.net/TopicRead.aspx?topicID=49256&start=0 07/06/2008
3.สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม ?
 ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจากสาเหตุใหญ่ 3 ประการ คือ
        1. การเพิ่มจำนวนของประชากร

        การเพิ่มความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ ความต้องการพื้นที่ทำกินทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีการบุกรุกทำลายป่าอันควรสงวนไว้เพื่อรักษาดุลยภาพ
ของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ความต้องการในการใช้ทรัพยากรอื่นๆ เป็นต้นว่า น้ำ อากาศ แร่ธาตุ แหล่งพลังงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพียงเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ยังขาดการวางแผนการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงความต้องการในอนาคต จนเกิดความเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมขึ้นโดยทั่วไปและอาจทำให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงในอนาคต หากยังมีการทำลายหรือการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติกันอย่างไม่ระมัดระวังต่อไปอีก
        2. การรวมตัวของประชากรหรือการตั้งถิ่นฐานมนุษย์
          เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเช่นเดียวกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง ซึ่งโดยปกติแล้วจะขาดการวางแผนและผังเมืองไว้ล่วงหน้าทำให้เกิดปัญหาของเมืองขึ้น เป็นต้นว่าการใช้ที่ดินที่ไม่มีระเบียบแบบแผน ปัญหาการจราจร การขาดแคลนทางด้านสาธารณูปโภคและการบริการโดยทั่วไป รวมทั้งการพักผ่อนหย่อนใจอันแสดงถึงสภาพความเสื่อมโทรมทั้งทางด้านกายภาพสังคม และคุณภาพของชีวิตของคนในเมืองทุกขณะการขยายตัวของเมืองนั้นโดยปกติจะมีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมเกิดขึ้นด้วย เนื่องจากอุตสาหกรรมจะได้ประโยชน์จากการอยู่ใกล้ชิดกับเมืองที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งหมายถึง การมีตลาดการคมนาคมและบริการพื้นฐานต่างๆ ที่ดีกว่าเมืองหรือชุมชนขนาดเล็ก การขยายตัวทางอุตสาหกรรมมักจะขาดการวางแผนหรือควบคุมที่เพียงพอ จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย อากาศเป็นพิษจากของเสียที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ปล่อยออกมา ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านกายภาพ และทางด้านสุขภาพ อนามัย และคุณภาพชีวิตของประชากรเช่นเดียวกัน
        3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตในทางด้านการเกษตร
        การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงได้ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของคุณภาพของดิน ปัญหาดินเป็นพิษ ซึ่งอาจจะแผ่กระจายตัวลงสู่แม่น้ำ ลำธาร จนเป็นสาเหตุของน้ำเสีย หรือทางด้านอุตสาหกรรม วิธีการในการผลิตที่ใช้สารตะกั่ว ปรอท สารหนู ฯลฯ สารเหล่านี้จะเป็นพิษร้ายแรงต่อสุขภาพอนามัยของประชากร และยากแก่การแก้ไขหรือทำลายส่วนที่ตกค้างให้หมดสิ้นไป การใช้พลังงานก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นได้หลายประการ
        จะเห็นได้ว่าปัญหาของสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นจากคน และการกระทำของคนทั้งสิ้นดังนั้นในการแก้ไขและวางแผนเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
ที่มาของข้อมูล :  http://environment.exteen.com/20061210/entry-3
4.ผลที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ?
ผลที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
    ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจาก มีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง
    กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
     1.ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ   ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย
     2. ปัญหามลพิษที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนมีมากมาย มิใช่แต่เพียงมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ หรือทางดินที่เรารู้จักกันดีเท่านั้น การที่สภาวะแวดล้อมของเราเปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็นของการพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้นั้น หากมิได้มีการวางแผนอย่างถี่ถ้วนรัดกุม การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอาจกลายเป็นปัญหามลพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้คนได้
     ตัวอย่างที่ชัดเจนสำหรับเมืองเรา คือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครได้ก่อให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อมอย่างมากมาย จนกระทั่งบางเรื่องอาจลุกลามใหญ่โตจนไม่สามารถแก้ไขได้ในสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเรา  การที่เมืองขยายออกไป ผืนดินที่ใช้ทางการเกษตรที่ดีก็ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัย ที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มกลับกลายเป็นแหล่งชุมชน คลองเพื่อการระบายน้ำถูกเปลี่ยนแปลงเป็นถนนเพื่อการคมนาคม แอ่งที่จะเป็นที่ขังน้ำถูกขจัดให้หมดไปด้วยสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เมื่อถึงหน้าน้ำหรือเมื่อฝนตกใหญ่ กรุงเทพมหานครจะประสบปัญหาน้ำท่วมทุกครั้ง น้ำท่วมก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพมากมาย เริ่มต้นด้วยโรคน้ำกัดเท้า และต่อไปก็อาจเกิดโรคระบาดได้
     ปัญหาขยะก็เป็นมลพิษที่สำคัญอีกประการหนึ่ง หากเมืองใหญ่ขึ้น ผู้คนมากขึ้น ของทิ้งก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นเป็นธรรมดา การเก็บขยะให้หมดจึงเป็นปัญหาสำคัญของเมืองใหญ่ ๆ ต่าง ๆ หากเก็บขยะไปไม่หมด ขยะก็จะสะสมหมักหมมอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นที่เพาะเชื้อโรค และแพร่เชื้อโรค ทำให้เกิดลักษณะเสื่อมโทรมสกปรก นอกจากนี้ ขยะยังทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ เมื่อมีผู้ทิ้งขยะลงไปในน้ำ การเน่าเสียก็จะเกิดขึ้นในแหล่งนั้น ๆ   การจราจรที่แออัดนอกจากเกิดปัญหามลพิษทางอากาศแล้วยังมีปัญหาในเรื่องเสียงติดตามมาด้วย เพราะยวดยานที่ผ่านไปมาทำให้เกิดเสียงดังและความสะเทือน เสียงที่ดังเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ บางคนดัดแปลงยานพาหนะของตนไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ทำให้เสียงดังกว่าปกติ โดยนิยมกันว่าเสียงที่ดังมาก ๆ นั้นเป็นของโก้เก๋ คนเหล่านั้นหารู้ไม่ว่าตนกำลังทำอันตรายให้เกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและกับผู้อื่น เสียงที่ดังเกินขอบเขตจะทำให้เกิดอาการทางประสาท ซึ่งอาจแสดงออกเป็นอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หรือทางอารมณ์ เช่น เกิดอาการหงุดหงิด ใจร้อนควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ เป็นต้น นอกจากนี้เสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เกิดความเสื่อมกับอวัยวะในการรับเสียงอีกด้วย ผู้ที่ฟังเสียงดังเกินขอบเขตมาก ๆ จะมีลักษณะหูเสื่อม ทำให้การได้ยินเสื่อมลง เป็นต้น
      ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือปัญหาสารมลพิษที่แปลกปลอมมา ในสิ่งที่เราจะต้องใช้บริโภค อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ในทุกวันนี้อาจมีสิ่งเป็นพิษแปลกปลอมปนมาได้ โดยความบังเอิญหรือโดยความจงใจ
      การใช้สารมีพิษเพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ความสนใจในโทษของสารเคมีที่ใช้ในการปราบศัตรูพืชยังมีน้อยมาก ในประเทศไทย วัตถุมีพิษที่ใช้ในกิจการดังกล่าวส่วนใหญ่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ที่นิยมใช้กันอยู่มีประมาณ 100 กว่าชนิด วัตถุมีพิษเหล่านี้ผสมอยู่ในสูตรต่าง ๆ มากกว่า 1,000 สูตร เมื่อมีการใช้วัตถุมีพิษอย่างแพร่หลายมากเช่นนี้ สารมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม และสารมีพิษตกค้างในอาหาร ซึ่งทำให้ทั้งคนและสัตว์ได้รับอันตราย จึงปรากฎมากขึ้น จากการวิเคราะห์ตัวอย่างต่าง ๆ พบว่า ปริมาณสารมีพิษประเภทยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ที่ตกค้างในน้ำและในสัตว์น้ำมีแนวโน้มของการสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าบางกรณีปริมาณวัตถุมีพิษที่สะสมอยู่ในสัตว์น้ำที่ประชาชนใช้บริโภคอยู่ จะมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานที่บางประเทศกำหนดไว้ก็ตาม หากคิดว่าโดยปกติคนไทยจะนิยมบริโภคสัตว์น้ำเป็นอาหารหลักด้วยแล้ว ปัญหานี้ก็จะเป็นเรื่องที่น่ากลัวอันตรายมาก

ที่มาของข้อมูล www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/arunee_w/cheevit/sec00p03.html


5.ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ ?
  ระบบนิเวศ หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือOikos แปลว่า บ้าน, ที่อยู่อาศัย,แหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตLogos แปลว่า เหตุผล, ความคิด== ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ ==สิ่งมีชีวิต (Organism)หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้1. ต้องมีการเจริญเติบโต2. เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย3. สืบพันธุ์ได้ 4. ประกอบไปด้วยเซลล์5. มีการหายใจ6. มีการขับถ่ายของเสียต่างๆ7. ต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆประชากร (Population)หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกันกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community)หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กัน โดยตรงหรือโดยทางอ้อมโลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere)หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกันแหล่งที่อยู่ (Habitat)หมายถึง แหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งบนบกและในน้ำสิ่งแวดล้อม (Environment)หมายถึง1. สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตหรือ ดำรงชีวิตได้ดีหรือไม่2. สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตtest== ส่วนประกอบ==ในระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้น จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนด้วยกัน คือ1. องค์ประกอบที่มีชีวิต ซึ่งแบ่งย่อยออกไปตามหน้าที่ ได้ดังนี้ 1.1 ผู้ผลิต หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตัวเองจากพลังงานแสงอาทิตย์เพราะมีสารสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรพีลล์ซึ่งได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดและบัคเตรีบางชนิดรวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000ชนิด พืชเหล่านี้สร้างอาหารโดยอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์และอนินทรียสาร 1.2 ผู้บริโภค เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตัวมันเองไม่สามารถสร้างอาหารได้ต้องอาศัยการกินพืชและสัตว์อื่นๆ 1.3 ผู้ย่อยสลาย เป็นพวกที่ปรุงอาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยซากของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอาหาร ได้แก่ จุลินทรีย์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ได้แก่ บัคเตรี เห็ด รา ยีสต์ ฟังไจ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ จะทำการย่อยสลายซากชีวิตต่างๆ โดยการขับเอนไซม์ออกมาย่อยสลายจนอยู่ในรูปของสารละลาย แล้วจากนั้นก็ดูดซับเข้าไปในลำตัวของมันต่อไป การย่อยสลายในระดับดังกล่าวได้ก่อให้เกิดสารประกอบในรูปของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งกลุ่มผู้ย่อยสลายจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารอินทรีย์เหล่านี้ให้เป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพื่อให้พืชสีเขียวดังไปใช้สร้างธาตุอาหารต่อไปใหม่ 2. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ซึ่งประกอบด้วย 2.1 อนินทรียสาร ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน น้ำ ไฮโดรเจน ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ 2.2 อินทรียสาร ได้แก่ โปรตีน
ที่มาของข้อมูล : http://th.wikipedia.org/wiki/

6.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบนิเวศ ?

















1. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบนิเวศ ตัวอย่างเช่น ห่วงโซ่อาหาร 3 กลุ่ม2. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบนิเวศจากการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน มนุษย์อาศัยความสัมพันธ์นี้ในการเกษตรกรรม
3. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์จากการอยู่ร่วมกันแบบอาศัยฝ่ายเดียว ตัวอย่างเช่น เกาะสุนัขที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมในภาคกลาง

4. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์จากการอยู่ร่วมกันแบบเกาะกินภายนอกร่างกายของผู้ถูกเกาะกิน ตัวอย่างเช่น เหาบนหัวมนุษย์
ที่มาของข้อมูล : http://envisurin.blogspot.com/2009/11/blog-post.html

7.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต ?
  ที่มาของข้อมูล : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi1/ecosystem/b7.htm
สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต(Biological environment/Biotic factor) สิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อยู่ล้อมรอบและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตนั้นๆโดยอาจแบ่งตามบทบาทของการกินอาหาร(Trophic level) หรือลำดับการส่งถอดพลังงานและสารอาหารได้เป็น
 ผู้ผลิต(Producer หรือ Autotroph) เป็น Autotrophic Organism สามารถสร้างอาหารได้เองโดยอาศัยคลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ใช้จับพลังงานจากแสงอาทิตย์ เปลี่ยนแปลงสารอาหารที่รับเข้ามาในรูปสารอนินทรีย์ให้กลายเป็นสารอินทรีย์ เรียกกระบวนการดังกล่าวว่า กระบวนการสังเคราะห์อาหารด้วยแสง ซึ่งพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่พืชนำมาใช้นี้คิดเป็นเพียง 0.1 - 0.2% ของพลังงานที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์เท่านั้น นอกจากพืชแล้วสิ่งมีชีวิตอื่นที่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตได้แก่ สาหร่ายเซลล์เดียว (โดยเฉพาะสาหร่ายสีเขียวจัดว่าเป็นผู้ผลิตที่มีบทบาทมากที่สุดในการสร้างออกซิเจนให้กับโลก) และแบคทีเรีย
 ผู้บริโภค(Consumer หรือ Phagotroph) เป็น Heterotropic Organism ไม่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตนเอง จะใช้สารอาหารจากผู้ผลิตอีกทีหนึ่ง ผู้บริโภคแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามอาหารที่มันกิน เช่น
- ผู้บริโภคพืช(Herbivore)
- ผู้บริโภคสัตว์(Carnivore)
- ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์(Omnivore)
- ผู้บริโภคซาก(Detritrvore-บริโภคซากอินทรีที่ทับถมในดินหรือScavenger-บริโภคซากตาย)
หรืออาจแบ่งตามลำดับการบริโภคเป็น
- ผู้บริโภคปฐมภูมิ(Primary consumer)ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นผู้บริโภคพืช ซึ่งมีลักษณะสำตัญคือสามารถย่อยเซลลูโลสและเปลี่ยนเนื้อเยื่อพืชให้กลายเป็นเนื้อเยื่อสัตว์ได้
- ผู้บริโภคทุติยภูมิ(Secondary consumer)โดยทั่วไปเป็นสัตว์กินเนื้อของสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารโดยทั่วไปมีขนาดใหญ่และแข็งแรง
- ผู้บริโภคลำดับตติยภูมิ(Tertiary consumer) จตุตถภูมิ(Quatiary consumer)และต่อๆไป
- ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย(Top Carnivore)เป็นผู้บริโภคที่มักจะไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่นต่อไป
 ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร(Decomposer หรือ Saphotroph)ทำหน้าที่สลายซากและเศษอินทรีย์ต่างๆให้มีขนาดเล็กลงโดยการย่อยภายนอกเซลล์ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีจำนวนมาก แต่เนื่องจากมีขนาดเล็กเมื่อคิดมวลรวมจึงมีน้ำหนักน้อย แต่มีอัตราการเผาผลาญสูงปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นจำนวนมาก สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้จัดเป็น Heterotroph เช่นกันเนื่องจากไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ มันจะดูดซึมอาหารที่มันย่อยโดยการหลั่งเอนไซม์ออกไปย่อยซากอินทรีย์ที่อยู่ในธรรมชาติจนมีขนาดเล็กลง จนอาจกลายเป็นสารอนินทรีย์รูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ นับว่ามีบทบาทสำคัญในวัฎจักรการหมุนเวียนสารอินทรีย์-สารอนินทรีย์ในระบบนิเวศ
ที่มาของข้อมูล : http://light128.exteen.com/20070107/entry-4

8.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ?
สิ่งแวดล้อมกับมนุษย์
สิ่งแวดล้อม ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 และในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ให้คำนิยามของสิ่งแวดล้อมตรงกันคือ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น
การจำแนกสิ่งแวดล้อม ในการจำแนกสิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งได้หลายจำพวกขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการแบ่ง ดังนี้
จำแนกตามองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมเป็น 4 ลักษณะ
1. สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ (Physical Environment)
2. สิ่งแวดล้อมทางด้านเคมี (Chemical Environment)
3. สิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ (Biological Environment) หมายถึง คุณลักษณะสิ่งแวดล้อมที่มีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ รวมถึงมนุษย์ด้วย ซึ่งมนุษย์มีบทบาทที่สำคัญทั้งในการช่วยค้ำจุน และในการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยกันเอง
4. สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม (Social Environment) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในด้านการใช้ชีวิตในสังคม รวมถึงพฤติกรรม จารีตประเพณี และวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน เช่น ประเพณีทางศาสนา เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมแบ่งเป็นลักษณะตามเกิดได้ 2 ลักษณะ
1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดตามธรรมชาติ (Natural Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Environments) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมแบ่งตามการมีชีวิตได้ 2 ลักษณะ
1. สิ่งแวดล้อมมีชีวิต (Biotic Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ รวมถึงมนุษย์ด้วย
2. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ( Abiotic Environments ) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น เช่น อากาศ น้ำ แสงสว่าง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดทุกยุคสมัย ในระยะแรก ๆ เนื่องจากจำนวนประชากรยังมีไม่มากประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมยังมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ การกระทำของมนุษย์เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งแวดล้อมยังมีไม่มาก และธรรมชาติยังมีความสามารถรองรับและฟื้นตัวได้เองจากการกระทำของธรรมชาติเองและจากการกระทำของมนุษย์ได้เกือบหมด ดังนั้นประเด็นปัญหาปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจึงถูกละเลย และไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร
ที่มาของข้อมูล : http://gotoknow.org/blog/envisci/304856

9.อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ?



ในสมัยก่อนที่ประชากรของมนุษย์บนโลกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยนั้น การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาวิถีชีวิตด้วยเทคโนโลยีให้มีความเป็นอยู่สุขสบายดี การบุกรุกสภาพสมดุลของธรรมชาติจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
ปัจจุบันนี้มนุษย์มักจะทำให้ระบบนิเวศในโลกนี้เป็นระบบนิเวศที่ธรรมดา โดยเฉพาะการเกษตรในปัจจุบันได้พยายามลดระดับต่าง ๆ ในห่วงโซ่อาหารให้เหลือน้อยที่สุด โดยการกำจัดพืชและหญ้าหลายชนิดไปเพื่อพืชชนิดเดียว เช่น ข้าวสาลี หรือข้าวโพด ซึ่งทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ความมั่นคงระบบนิเวศลดน้อยลง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น โอกาสที่ระบบนิเวศจะถูกทำลายก็จะมีมาก
นอกจากนั้น บริเวณการเกษตรทั่วโลกก็นับเป็นบริเวณที่ระบบนิเวศถูกทำลายมาก ทั้งนี้เพราะมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย สารพิษที่เกิดจากการเกษตรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตระดับสูง ๆ ได้ตามห่วงโซ่อาหาร จึงมักสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตในปริมาณที่เข้มข้นกว่าที่มีในสิ่งแวดล้อมเสมอ ดังตัวอย่างของการใช้ DDT
เมื่อมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในบริเวณที่หนึ่ง DDT ซึ่งเป็นส่วนผสมของยากำจัดศัตรูพืชนั้น จะตกค้างอยู่ในดินถูกชะล้างลงในแม่น้ำและสะสมอยู่ในแพลงค์ตอน เมื่อสัตว์น้ำชนิดอื่น เช่น ปลามากินแพลงค์ตอน DDT ก็จะเข้าไปสะสมในตัวปลาเป็นปริมาณมากกว่าที่อยู่ในแพลงค์ตอนและเมื่อนกซึ่งกินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เข้าไป ก็จะสะสมไว้ในปริมาณสูง เมื่อสัตว์อื่นมากินนกก็ยิ่งจะทำให้การสะสม DDT ในตัวมันสูงมากขึ้นไปอีก ถ้า DDT สูงขึ้นถึงขีดอันตรายก็จะทำให้สัตว์ตายได้หรือไม่ก็ผิดปกติ DDT ส่วนใหญ่จะสะสมในเนื้อเยื่อไขมันและขัดขวางการเกาะตัวของ แคลเซี่ยมที่เปลือกไข่ทำให้ไข่บางแตกง่ายและไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้มีรายงานว่าในประเทศสวีเดน และในประเทศญี่ปุ่นมีนกบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากผลกระทบสะสมตัวของ DDT
การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ มิฉะนั้นก็อาจจะเกิดผลเสียหายร้ายแรง ทั้งต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนทำให้เกิดบริเวณน้ำขังจำนวนมหาศาลอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคเนื่องจากพาหะของโรคนั้นสามารถเติบโตได้ดีในบริเวณน้ำนิ่ง